แนวคิดแบบลีน (Lean Thinking) จะเน้นไปที่การสร้างคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ โดยการขจัดความสูญเปล่า (Wastes) ทั้ง 8 ประการ ออกไป เจฟฟรีย์ ไลเคอร์ (Jeffrey Liker) ได้นำเสนอไว้ในหนังสือวิถีแห่งโตโยต้า (The Toyota way) ได้แก่
1. งานที่ต้องแก้ไข (Defect) ผลิตสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ ทำให้ต้องมาเสียเวลาในการแก้ไข เสียทรัพยากรทั้งวัสดุ แรงงาน ตามมา
2. การผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ (Overproduction) เช่น ลูกค้าสั่งมา 100 ชิ้น ผลิตมา 120 ชิ้น 20 ชิ้นที่เกินมาก็ต้องกลายเป็นคลังสินค้าของเรา เสียเวลาขนย้ายไปๆ มาๆ อีกต่างหาก
3. การรอคอย (Waiting) โดยเฉพาะธุรกิจบริการจะเห็นได้ชัดเจน การรอคอยทำให้เกิดต้นทุนแฝงต่างๆ ตามมา
4. ความคิดสร้างสรรค์ของทีมงานที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ (Non-utilized Talent) ทำให้องค์กรไม่ขยับปรับตัวไปไหน เพราะไม่ฟังเสียงของทีมงานของเราที่จะสร้างสรรค์องค์กรให้พัฒนาก้าวไปข้างหน้า
5. การขนย้ายบ่อยๆ (Transportation) จากการผลิตเกินมักจะเป็นผลให้เกิดการเก็บสินค้ามาเกินไป แล้วต้องเสียเวลาในการขนย้าย ค้นหาสินค้าเกิดขึ้น
6. สินค้าคงคลังมากเกินไป (Inventory) เป็นอีกหนึ่งความสูญเปล่าที่เหนี่ยวรั้งองค์กรไม่ให้ก้าวไปข้างหน้า เหมือนมีไขมันมาพอกไว้ วิ่งไม่ไปไหน เคลื่อนตัว เปลี่ยนแปลงยากลำบาก
7. การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion) การเดิน เอื้อม หัน ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง เสียเวลาในการทำงานทั้งนั้น ต้องหาวิธีการทำงานที่สะดวก รวดเร็ว ที่จะเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด
8. ขั้นตอนซ้ำซ้อนไม่ถูกต้อง (Excess Processing) ขั้นตอนต่างๆ ไม่เคยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง มาตรฐานทำมาอย่างไรก็เก็บไว้แบบนั้นไม่มีการศึกษาพัฒนาขั้นตอนการทำงานอย่างจริงจัง หรือไม่ได้ค้นหาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ทำงานได้ง่ายยิ่ง บทความต้นฉบับ : https://www.leanxacademy.com/single-post/Lean-thinking-8-wastes
Comments