ในช่วงสองสามปีแรกของ Netflix เราเติบโตอย่างรวดเร็ว และจำเป็นต้องจ้างวิศวกรซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้น สิ่งที่เขาให้ความสำคัญมากๆ ก็คือการรวบรวมคนเก่ง ให้มาอยู่ด้วยกัน ด้วยการใช้ทฤษฏีที่เรียกว่า "Rock-Star"
หลักการของร็อคสตาร์มีรากฐานมาจากการศึกษาที่มีชื่อเสียงซึ่งเกิดขึ้นในห้องใต้ดินในซานตาโมนิกาแคลิฟอร์เนีย เวลา 06.30 น. โปรแกรมเมอร์ฝึกหัดเก้าคนถูกพาเข้าไปในห้องที่มีคอมพิวเตอร์หลายสิบเครื่อง แต่ละคนได้รับเอกสารอธิบายโจทย์การเขียนโปรแกรม ที่พวกเขาจะต้องดำเนินการให้เสร็จสมบูรณ์ในอีกสองชั่วโมงข้างหน้า
นักวิจัยคาดว่าโปรแกรมเมอร์ที่ดีที่สุดจะมีผลงานดีกว่าคนอื่นๆ สองถึงสามเท่า แต่กลับกลายเป็นว่า โปรแกรมเมอร์ที่มีฝีมือดีที่สุดทำได้ดีกว่าคนที่อ่อนที่สุดหลายสิบเท่า ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโปรแกรมได้เร็วกว่า 20 เท่า และการตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมเร็วกว่า 25 เท่า และโปรแกรที่เขียนสามารถทำงานได้เร็วกว่า 10 เท่า
สำหรับ Netflix ได้ใช้วิธีที่จะจ้างพนักงานที่เก่งมากๆ 1 คนแทนที่จะจ้างพนักงานแบบกลางๆ 10-25 คน และจ่ายเงินให้คนคนนั้นสูงๆ แทน และจากประสบการณ์เขาพบกว่า คนที่เก่งสามารถสร้างคุณค่าให้คนทั่วๆไป ไม่ใช่แค่ 10 เท่า แต่เป็น 100 เท่า
Bill Gates ซึ่งฉันทำงานด้วยในขณะที่อยู่ในคณะกรรมการ Microsoft มีเจตนาที่จะไปไกลกว่านี้ เขามักจะอ้างว่า “ช่างกลึงฝีมือดีสั่งค่าจ้างของช่างกลึงทั่วไปหลายเท่า แต่โปรแกรมเมอร์ที่เก่งกาจนั้นมีมูลค่า 10,000 เท่าของโปรแกรมเมอร์ทั่วไป”
กลับมาที่ Netflix ที่นี่ได้แบ่งงานออกเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 งานปฏิบัตการ และ กลุ่มที่ 2 งานความคิดสร้างสรรค์
หากคุณกำลังจ้างคนในตำแหน่งปฏิบัติการเช่นคนตักไอศกรีมพนักงานที่ดีที่สุดอาจให้ค่าเฉลี่ยเป็นสองเท่า นักตักที่ดีจริงๆอาจเติมจำนวนโคนได้สองหรือสามเท่าของจำนวนกรวยโดยเฉลี่ย แต่มีขีดจำกัด ว่าเครื่องตักไอศครีมหนึ่งก้อนสามารถให้คุณค่าได้มากเพียงใด
สำหรับงานกลุ่มปฏิบัติงานคุณสามารถจ่ายเงินเดือนโดยเฉลี่ย ก็เพียงพอ
ที่ Netflix ไม่มีงานกลุ่มปฏิบัติการมากเท่าไหร่ งานส่วนใหญ่ที่นี่จะเน้นความสามารถของพนักงานในการคิดค้นและดำเนินการอย่างสร้างสรรค์ ในทุกบทบาทของคนในกลุ่มที่มีความคิดสร้างสรรค์สิ่ง คนที่เก่งๆ จะทำได้ดีกว่าคนทั่วไปโดยเฉลี่ย 10 เท่าเป็นอย่างน้อย
ในปี 2003 Netflix ยังมีเงินไม่มากนัก แต่ต้องทำอะไรมากมายให้สำเร็จ เขาต้องคิดอย่างรอบคอบว่าจะใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยที่เรามีอยู่อย่างไร เขาจะดูว่างานไหนเป็นงานแบบปฏิบัติการ ก็จะจ่ายตามราคาตลาด ส่วนงานไหนเป็นแบบงานสร้างสรรค์เขาจะจ่ายเงินเดือนที่สูงลิ่วสำหรับคนที่ใช่
การทำแบบนี้ส่งผลตามมาก็คือการมีองค์กรที่ Lean มีคนเก่งๆ แต่มีไม่เยอะทำให้การบริหารจัดการทีมก็จะเป็นไปได้คล่องตัวกว่า เพราะถ้าเรามีคนกลางๆ เยอะๆ องค์กรก็จะต้องให้เวลากับการบริหารจัดการเรื่องของคนมากขึ้นตามไปด้วย
นี่ละครับ สาเหตุว่าทำไม Netflix ถึงสามารถโตแบบก้าวกระโดดได้
และอีกมุมหนึ่งสำหรับหลายๆ ท่านที่ปัจจุบันกำลังทำงานที่เน้นงานด้านปฏิบัติการ ข่าวดีก็คือ ตอนนี้เรามีเทคโนโลยีหลายๆ อย่างมาช่วยทำงานไม่ว่าจะเป็น Robot, AI ซึ่งถ้าเรารีบขยับตัว รีบพัฒนาทักษะใหม่ๆ พร้อมกล้าที่จะคิดอะไรใหม่ๆ เชื่อว่าเป็นโอกาสที่เราจะสร้างรายได้แบบก้าวกระโดด จากงานใหม่ๆ ที่กำลังเปิดรับมากขึ้นเรื่อยๆ
ขอบคุณบทความดีๆ และอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ cnbc
Commentaires